พื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ข้อได้เปรียบจากที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ตั้งอยู่บนพื้นที่จุดยุทธศาสตร์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทย ประเทศที่เปรียบดังศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขน ส่งสู่ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน หรือรถไฟความเร็วสูงไปยังกลุ่มประเทศ (CLMV) จีน อินเดียฯลฯ ได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 25 – 140 เมตร ทำให้ปราศจากปัญหาอุทกภัย ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังได้รับการสนับสนุนด้านการลงทุน
จากภาครัฐอย่างต่อเนื่องสงผลให้ประเทศไทยได้รับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทักษะแรงงาน ตลอดจนได้รับการ
การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนทั้งจากประเทศคู่ค้า และประเทศใกล้เคียงมากมายจนเกิดเป็นศูนย์กลาง
ของกลไกทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของอาเซียนที่มีศักยภาพในสายตานักลงทุนจากทั่วโลก
ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
ที่ตั้งแห่งยุทธศาสตร์ ณ ใจกลางทวีปเอเชีย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยยังเติบโตได้ในระดับดี
โดย FDI ของไทยอยู่ที่ราว 21% ซึ่งมากกว่า ในช่วงระยะ 6 ปีที่ผ่านมา 0.7% ครองอันดับ 4 ในฐานะ
ประเทศที่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง
การเข้าถึงตลาด
ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีเส้นทางการคมนาคมเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอีกทั้งประเทศไทยยังทำข้อตกลงการค้ากับ18 ประเทศ
ที่รวมงออสเตรเลีย จีน นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ความร่วมมือเศรษฐกิจภูมิภาครอบคลุม (RCEP) และเขตการค้าเสรีร่วมกับอีก 14 ประเทศ
จึงทำให้สามารเข้าถึงตลาดได้ทั้งในประเทศไทย อาเซียน เอเชีย ออสเตรเลีย จีน นิวซีแลนด์
และเกาหลีใต้ สร้างโอกาสที่ดีสำหรับการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน
ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ร่วมกับคู่ค้าทั่วโลกเป็นจำนวนมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ส่งผลให้สามารถเปิดเสรีทางการค้า และสร้างความยุติธรรม
ทางการค้าในระดับโลก และในปัจจุบันประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดเจรจา FTA ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
การเชื่อมโยงทั่วโลก
ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ร่วมกับคู่ค้าทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะสนับสนุน
ข้อผูกพันต่างๆ ที่จะเปิดเสรีและสร้างความยุติธรรมทางการค้าในระดับโลก ในขณะเดียวกันกับที่มีการเปิดเจรจา FTA ใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
ศูนย์รวมของการเชื่อมโยงถนนระดับภูมิภาค
ประเทศไทยมีเส้นทางการการคมนาคมทางบกที่มีศักยภาพโดยมีการตัดถนนโครงข่ายทางหลวงมากกว่า 465,000 กิโลเมตร
ซึ่งเชื่อมต่อเส้นทางในทุกจัวหวัดของประเทศ และยังต่อขยายเครือข่ายถนนระหว่างประเทศใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง อาทิประเทศจีน
อินเดีย เวียดนาม และสิงคโปร์ และกลายเป็นศูนย์รวมหลักของการเชื่อมต่อถนนของภูมิภาค
.
โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
รัฐบาลไทยกำลังพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นผลักดันการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของอาเซียน
โดยโครงการครอบคลุมพื้นที่กว่า 13,000 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งโครงการนี้ถูกประกอบด้วย
โครงสร้างที่เป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอาทิ เมืองท่าอากาศยานตะวันออก (EECa) เครือข่ายเศรษฐกิจภาคตะวันออก
สำหรับนวัตกรรม (EECi) ดิจิทัลพาร์คไทยแลนด์ (EECd) ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ธรรมศาสตร์(EECmd)
และพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม พร้อมออกมาตรการส่งเสริมทางภาษี ซึ่งคาดว่าในระยะเวลา 5 ปีแรก
จะมีโครงการลงทุนรวมจำนวนประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ฐานการผลิตที่ 2
ประเทศไทยถูกเลือกให้เป็นฐานการผลิตที่ 2 ของบริษัทข้ามชาติและบริษัทผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย
ด้วยความพร้อมทั้งในด้านทำเลที่ตั้ง ทักษะแรงงาน การสนับสนุนจากภาครัฐ รวมทั้งการเข้าถึงทรัพยากรเช่นการเงิน
และความรู้ทางเทคนิค ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก
ระบบทางรถไฟและการขนส่งมวลชน
การคมนาคมทางรางของประเทศไทยนั้นมีเส้นทางเชื่อมต่อกับหลากหลายภูมิภาคของประเทศไทยโดยมีระยะทางกว่า 4,000 กิโลเมตร
และยังสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนและประเทศจีน
รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
ทำไมต้อง อีอีซี – โครงสร้างพื้นฐาน – รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ต ลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ปัจจุบัน
โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานี พญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน
โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯเป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
การเป็นอยู่ในประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment) ได้ส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย
ทั้งในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน และด้านการบริการสนับสนุนธุรกิจ
ให้แก่นักลงทุนจากทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อผนวกเข้ากับสภาพอากาศ อัตราค่าของชีพที่ต่ำ ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค
สิ่งอำนวยความสะดวก ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจและใช้ชีวิตในประเทศไทยดึงดูดนักลงทุนจำนวนมาก
.
.
สิทธิประโยชน์ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
เขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองจัดอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกมาตร(East Economic Corridor หรือ EEC) อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีช่วยสนับสนุนมาตรการและสิทธิพิเศษในการลงทุน ในพื้นที่ทั้งในด้าน สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี รวม ถึงการสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและโลจิสติกส์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การวิจัยพัฒนาธุรกิจ และการสนับสนุนการลงทุนด้านเทคโนโลยี ฯลฯ
สิทธิประโยชน์ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
.
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองมีบริการด้านการเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งโรงงานและการลงทุน ในประเทศไทยในรูปแบบ One stop service ตั้งแต่การให้คำปรึกษาการเริ่มต้นทำธุรกิจ การจดทะเบียนบริษัท ไปจนถึงบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งการจัดหาพนักงาน การดูแลจัดการ สวัสดิการพนักงาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ สามารถปรึกษาฟรี ไม่เสียค่าบริการ!
สามารถปรึกษาฟรี ไม่เสียค่าบริการ!
- การจดจัดตั้งบริษัท
- การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การยื่นขออนุญาตทำงานในประเทศไทย
- การเปิดบัญชีและทำธุรกรรมร่วมกับสถาบันทางการเงิน
- การยื่นขออนุญาติการก่อสร้างโรงงานและสถานประกอบการ
- การยื่นขอใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน
- การยื่นการขอรับการส่งเสริมการลงทุน BOI
- จัดหาแรงงานในไทย
- การขออนุญาตประกอบกิจการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมจังหวัด เทศบาลและอื่นๆ
- การยื่นขอใบอนุญาตใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม*
- การยื่นขอใบอนุญาติให้ต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม*
- การยื่นโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน*
*ไม่เสียค่าดำเนินการ
ภายในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองและพื้นที่โดยรอบถูกจัดให้เป็นเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมากด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน มีที่พักอาศัย สถานพยาบาล ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งยังมีอัตราความปลอดภัยในการอยู่อาศัยที่สูง
บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด (มหาชน) รู้สึกเป็นเกียรติที่นักลงทุนนานาชาติมากกว่า 312 รายทั่วโลก เลือกลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์(Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมอาหาร (Food ) อุตสาหกรรมเครื่องจักรอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) อุตสาหกรรมการบิน (Aviation) อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและปิโตรเคมี (Biochemical and Eco-friendly Petrochemical) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) นอกจากนี้เรายังสามารถรองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสินค้าโภคภัณฑ์